บทความที่ได้รับความนิยม

วันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

โรงพยาบาลดำเนินสะดวก จัดโครงการสนับสนุนการปฏิบัติงานทีมเชื่อมประสานใจ

โรงพยาบาลดำเนินสะดวก จัดโครงการสนับสนุนการปฏิบัติงานทีมเชื่อมประสานใจ (Care D+ Team) จะทำให้ผู้ป่วยมีความรู้สึกมั่นใจและสบายใจว่ามีผู้ดูแลรักษาและเอาใจใส่ดุจญาติ
โรงพยาบาลดำเนินสะดวกจ.ราชบุรี เป็นโรงพยาบาลทั่วไป ขนาด 304 เตียง ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่มุ่งเน้นการให้บริการรักษา ฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย การส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคภายใต้นโยบายกระทรวงสาธารณสุข ที่มีผู้รับบริการเป็นจำนวนมาก รวมทั้งสิ้น 264.353 ครั้ง เฉลี่ยวันละ 925ครั้ง การสร้างความเข้าใจด้วยกระบวนการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นในการสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการและผู้รับบริการให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน อันจะทำให้เกิดสัมพันธภาพอันดีระหว่างกัน ผู้รับบริการเกิดความพึงพอใจ ลดข้อร้องเรียนอันเนื่องมาจากความเข้าใจผิดเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีให้เกิดขึ้น
ทางด้านนายแพทย์สันติ สุขหวาน ผอ.โรงพยาบาลดำเนินสะตวก จึงได้มีการจัดตั้งทีมเชื่อมประสานใจ (Care D+ Team)โดยมี แพทย์หญิงบุบผา เจริญสิน รอง ผอ.โรงพยายาลดำเนินสะดวกเป็นประธานคณะกรรมการ ฯ เพื่อทำหน้าที่สื่อสารสร้างความเข้าใจระหว่างผู้ป่วย ญาติ และบุคลากรสาธารณสุขด้วยหลักการเอาใจเขามาใส่ใจเรา ด้วยการลงพื้นที่ปฏิบัติหน้างานที่แผนกผู้ป่วยนอก และบริเวณจุดให้บริการสำคัญของโรงพยาบาล และเพื่อให้เป็นที่สังเกตได้ง่ายของผู้ป่วยและผู้รับบริการในการติดต่อสอบถาม ประสานหารือการเข้ารับบริการต่างๆ อันจะส่งผลให้เจ้าหน้าที่สามารถปฏิบัติงานให้บริการประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงได้จัด "โครงการสนับสนุนการปฏิบัติงานทีมเชื่อมประสานใจ (Care D+ Team) ขึ้นเพื่อให้ผู้ป่วย ญาติ และผู้รับบริการเกิดความพึงพอใจในการเข้ารับบริการที่โรงพยาบาลดำเนินสะดวก เพื่อให้ผู้ป่วย ญาติ ผู้รับบริการ และบุคลากรสาธารณสุขมีความเข้าใจกันและเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์และบรรยากาศการทำงานที่ดีในการปฏิบัติงานระหว่างผู้ป่วย ญาติผู้รับบริการและบุคลากรสาธารณสุขสู่กลุ่มเป้าหมาย โดยคณะผู้บริหารโรงพยาบาลพร้อมด้วย คณะกรรมการเชื่อมประสานใจ (Care D+ Team) ผู้ผ่านการอบรมตามโครงการ และหัวหน้าหน่วยงานตลอดจนผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 38 คน ให้การสนับสนุนการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิ์ภาพ ในพื้นที่ให้บริการผู้ป่วยนอกและผู้รับบริการทั่วไป ซึ่งจะเป็นความสำเร็จ สามารถทำให้จำนวนข้อร้องเรียนจากสาเหตุความเข้าใจคลาดเคลื่อนลดลง ทำให้ผู้ป่วย ญาติ และผู้รับบริการมีความพึงพอใจ เมื่อผู้ป่วยไปเข้ารับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาล ได้รับยา และได้กลับบ้าน สิ่งที่มีความชับซ้อนมากกว่านั้นคือการปฏิบัติต่อผู้ป่วยและญาติที่มีความเปราะบางทางอารมณ์ วิตกกังวล หวาดกลัว ท้อแท้และสิ้นหวังจากโรคหรือสถานการณ์ต่างๆ ที่ต้องมาเข้ารับบริการ ซึ่งหากบุคคลเหล่านั้นได้รับการสื่อสารและเอาใจใส่ที่ดี หรือมีวิธีการขั้นตอนต่างๆ ที่สร้างความเห็นอกเห็นใจ ก็จะทำให้ผู้ป่วยมีความรู้สึกมั่นใจและสบายใจว่ามีผู้ดูแลรักษาและเอาใจใส่ดุจญาติ
นายแพทย์สันติ สุขหวาน กล่าวว่า โครงการ Care d+Team โดยทางกระทรวงสาธารณสุข ได้เล็งเห็นว่า เวลาผู้ป่วยมาโรงพยาบาลติดขัดหรือ มีข้อสงสัย และไม่เข้าใจ หลายประการ แล้วบางครั้ง ก็ไม่มีญาติมา จะ เป็นผู้เฒ่าผู้แก่ หรือระบบในโรงพยาบาลมีการเปลี่ยนแปลง พัฒนากันอย่างต่อเนื่อง ทำให้ไม่เข้าใจ ว่าจะทำอย่างไร ก็จะเกิดปัญหากันบ่อยๆ ก็จะทำให้มีปากมีเสียงกันกระทบกระทั่ง หรือไม่ค่อยประทับใจ อาจจะด้วยเหตุใดๆก็ตาม จึงได้เกิดโครงการนี้ขึ้นมา เรามีจะบุคลากรส่วนหนึ่ง ที่ผ่านการอบรม การดูแลผู้ป่วย รู้การบริการด้านต่างๆ จะต้องทำอะไร ตรงไหน จึงได้เอาคนเหล่านี้ เลือกเวลาที่เหมาะสมเอาคนที่อยู่ในโรงพยาบาล ที่มีภารกิจน้อย หรือช่วงที่ออกเวร หรือจะเป็นผู้ที่เกษียณไปแล้ว มีจิตศรัทธาเข้ามาเป็นจิตอาสาที่จะมาช่วยดูแล เปรียบประดุจ ดังญาติของคนไข้ พร้อมทั้งช่วยดูแล กระบวนการด้านต่างๆ ที่เข้ามาโรงพยาบาลและพบหมอ ทั้งใบนัดรับยา ห้องผ่าตัดไปจุดต่างๆ ห้องน้ำ หรือบริการด้านต่างๆ จะต้องเป็นคนดูแล ให้คำแนะนำที่ถูกต้อง ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ จะ เป็นผู้สูงอายุ จะเข้ามาโรงพยาบาล บางคน ก็มีญาติมา แต่บางคน ก็ไม่ได้มีญาติมา ทีมนี้จึงเปรียบเสมือนญาติของผู้ป่วย ยิ่งปัจจุบันในโรงพยาบาลมีเทคโนโลยี่ที่ทันสมัยแต่ไม่ใช่ประชาชนจะเข้าใจใด้อย่างสมบูรณ์แบบ การที่เรามีทีมเชื่อมประสานใจ (Care D+ Team) ช่วยการสื่อสารจะทำให้ผู้ป่วยมีความรู้สึกมั่นใจและสบายใจว่ามีผู้ดูแลและเอาใจใส่ดุจดังญาติ